วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

การเคลื่อนที่แบบหมุน

การเคลื่อนที่แบบหมุน
ROTATIONAL MOTION





การเคลื่อนที่แบบหมุน            ( Rotation Motion ) เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุรอบแกนตั้งฉากอันหนึ่งโดยแกนอาจอยู่กับที่หรือกำลังเคลื่อนที่ก็ได้ เช่น การหมุนของลูกข่าง , โยโย่ , มูมเมอแรง หรือ การหมุนล้อรถ

สาเหตุที่ทำให้วัตถุเกิดการหมุนก็คือ  ทอร์ก( Torque) ส่วนวัตถุจะเปลี่ยนสภาพการหมุนได้ยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับโมเมนต์ความเฉื่อย (Moment of Inertia)

โมเมนต์ความเฉื่อย ( I) คือปริมาณที่บอกสมบัติในการต้านการเปลี่ยนสภาพการหมุนของวัตถุ มีหน่วย( kg.m2 )

ทอร์ก(Torque) เป็นปริมาณที่บอกถึงความพยายามที่จะทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการหมุน มีค่าเท่ากับอัตราการเปลี่ยนโมเมนตัมเชิงมุม

โมเมนตัมเชิงมุม(Angular Momentum) เป็นปริมาณที่บอกสภาพการหมุนของวัตถุ มีค่าขึ้นอยู่กับผลคูณของโมเมนต์ความเฉื่อย กับ ความเร็วเชิงมุมเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วย kg.m2/s หรือ J-s นั่นเอง
L = Iw

กฎอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม(Angular Momentum) เมื่อทอร์กที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเป็นศูนย์ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเชิงมุมคงตัว

พลังงานจลน์การหมุน เป็นพลังงานของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่แบบหมุน

พลังงานจลน์กลิ้ง ตามปกติวัตถุที่มีการเคลื่อนที่แบบหมุนอาจมีการเลื่อนตำแหน่งพร้อมกันด้วย เช่น ล้อรถที่กำลังแล่น ดังนั้นพลังงานของวัตถุจึงมีทั้งพลังงานจลน์การหมุน และพลังงานจลน์การเลื่อนที่

1. วัตฤแข็งเกร็งหมายถึงระบบอนุภาคที่ประกอบเป็นวัตฤโคยทีอนุ ภาคทั้งหลายจะยังคงมี ตำเเหนงสัมพัทธ์ระหว่างกันทั้งที่ไม่เปลี่ยนแปลงถึงแม้จะมึแรงหรือทอร์กมากระทบทำต่อวัตถุ นั้น การเคลื่อนที่ของวัตฤแข็งเกร็งอาจกล่าวได้ว่าเป็น 2 แบบ คือการเคลื่อนที่แบบเลื่อน ตำแหน่ง(Translatlon) และการเคลื่อนที่ที่แบบหมุน(Rotatlon)
2. การเคลื่อนทื่แบบหมุนของวัตถุโดยทั่วไป แกนหมุนวางตัวในลักษณะต่าง ๆ และอาจเปลี่ยน แนวการวางตัวได้ เมื่อพิจารณาในช่วงเวลาสั้น ๆ ถือว่าแกนหมุนวางตัวตั้งฉากกับระนาบของ การเคลื่อนที่ของมวลย่อย ๆ ในแนววงกลม มุมที่กว้างไปและถือว่าเป็นปริมาณเวกเตอร์ เรียก ว่า การกระจัดชิงมุม( Ae) และหาทิศทางของการกระจัดเชิงมุมโดยใช้มือขวากำรอบแกน หเน นิ้วทั้งสชี้ไปทางเตียวกับทิศการหวาน นิ้วหัวแม่มือทาบไปตามเเกนหมุน ทิศของการ กระจัดgชิงมุมจะชี้ไปตามการชี้ของนิ้วหัวแม่มีจ
3. ความเร็วเชิงมุม เป็นปริมาณเวกเตอร์ มีทิศเดึยวกับทิศของการกระจัดเชิงมุม โตยเขียนไนเชิงสมการได้ดังนี้
4. ความเร่งเชิงมุม(ผ) หมายถึง ความเร็วเชิงฦมที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลา และ จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์
5. ตารางการเปรียบเทียบการเคลอ่นทื่แบบหมุนของวัตถุรอบแกนหมุนที่อยู่กับที่ ด้วย ความเร่งเชิงมุมคงตัว กับการเคลื้อนทึ่แบบเลอนที่ในแนวตรงด้วยความเร่งคงตัว






        ไจโรสโคปเป็นอุปกรณ์ที่น่าพิศวงงงงวยเป็นอย่างยิ่ง   เพราะการหมุนของมันค่อนข้างแปลก   และคล้ายกับว่า มันท้าท้ายกับแรงโน้มถ่วงได้  คุณสมบัติอันพิเศษนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตั้งแต่รถจักรยาน  จนถึงยานขนส่งอวกาศ   เครื่องบินโดยสารทุกประเภทมีไจโรสโคป  ไว้สำหรับทำเป็นเข็มทิศ   และระบบนำร่องอัตโนมัติ   สถานีอวกาศ Mir  ของรัสเซีย  ใช้ไจโรสโคปจำนวน  11  อัน เพื่อบังคับให้แผงโซลาร์เซลล์หันไปในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์ตลอดเวลา  การหมุนแบบไจโร  จะเกิดกับมวลทุกชนิดในโลกที่มีการหมุน  ฟิสิกส์ราชมงคลจะไขปริศนานี้ให้   โดยจะโยงให้คุณได้ทราบเหตุและผลที่เกิดจากการหมุนแบบนี้   ซึ่งจะทำให้คุณยิ่งมหัศจรรย์เพิ่มขึ้นไปอีก  เพราะการประยุกต์ของไจโรมีมากมายนับไม่ถ้วน  ทั้งๆที่ความรู้พื้นฐานนั้น ง่ายแสนจะง่าย
ตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบหมุน : http://www.youtube.com/watch?v=bIYZQVUV9y4


จัดทำโดย : นายจักรพงศ์   เมนะจินดา เลขที่ 17 ม.4/4

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โมเมนตัม (Momentum)

โมเมนตัม (Momentum) คืออะไร


Momentum
1. โมเมนตัม(Momentum) คืออะไร

เป็นปริมาณการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งปริมาณนี้จะบอกถึง ความพยายามที่จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของวัตถุ ปริมาณนี้ขึ้นอยู่กับมวลและความเร็วของวัตถุในขณะนั้น

Momentum = mass x velocity

P = mv

โดย P = ปริมาณโมเมนตัม

m = มวลของวัตถุในขณะนั้น

v = ความเร็วของวัตถุในขณะนั้น

Momentum เป็นปริมาณที่มีทิศทาง

ขึ้นอยู่กับทิศทางของความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ วัตถุใดที่มีโมเมนตัม วัตถุนั้น ยากที่จะถูกหยุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณโมเมนตัมของแต่ละวัตถุในการ จะหยุดสิ่งที่กำลังเคลื่อนที่นั้น เราจะต้องออกแรงต้านการเคลื่อนที่ของมัน เป็นช่วงเวลาหนึ่ง

ถ้าวัตถุใดมีโมเมนตัมมากกว่า ก็จะต้องใช้ความพยายามในการหยุดมากกว่า นั่นหมายถึงว่า จะต้องใช้แรงที่มากกว่าในการหยุด หรือจะต้องใช้ระยะเวลาที่นานกว่าจึงจะสามารถหยุดได้

จาก กฎข้อที่สองของ Newton

F = ma



2. การดล (Impulse)

เนื่องจาก ปริมาณ ที่เกิดจาก แรง คูณกับเวลา นั้นเรียกว่า การดล(impulse) และปริมาณที่เกิดจาก มวลคูณกับความเร็ว นั้นคือ momentum

ดังนั้น impulse = การเปลี่ยนแปลง momentum

3. การอนุรักษ์โมเมนตัม(Momentum Conservation)

กฎที่สำคัญทาง physics อย่างนึงก็คือ กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม ซึ่งคือสำหรับการชนกันของวัตถุสองชิ้น ผลรวมโมเมนตัมของวัตถุสองชิ้นก่อนชน จะมีค่าเท่ากับผลรวมโมเมนตัมของวัตถุสองชิ้นหลังชน



4. ลักษณะของการชน(Collision)

ในการชนกันของวัตถุ วัตถุแต่ละชิ้น จะเกิดการแลกเปลี่ยนความเร็ว และทิศทางในการเคลื่อนที่ โดยอาศัยกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม

a. การชนแบบยืดหยุ่น (Elastic Collision)

คือการที่วัตถุชนกันแล้ว วัตถุมีการแยกตัวออกจากกันหลังชนในการชนแบบนี้ จะเกิด

1) การอนุรักษ์ โมเมนตัม

2) พลังงานจลน์รวมจะคงที่

แบ่งได้ 3 กรณี

1) มวลของวัตถุทั้งสองเท่ากัน

2) มวลของวัตถุไม่เท่ากัน

b. การชนแบบไม่ยืดหยุ่น (Inelastic Collision)

คือการที่วัตถุชนกันแล้ว วัตถุเกิดการติดกันไป หลังจากชนแล้ว

ในการชนแบบนี้ จะเกิด

1) การอนุรักษ์ โมเมนตัม

2) พลังงานจลน์รวมจะไม่คงที่ เนื่องจากเสียพลังงานจลน์ไปทำให้ในรูปอื่น เช่น ทำให้วัตถุเสียรูปทรง เกิดเสียงดัง เป็นต้น

การประยุกต์ใช้โมเมนตัม

1.การเล่นสนุกเกอร์
2.การหมุนของลูกข่าง
3.การหมุนของลูกตุ้มนาฬิการ
4.การตกลงมาของของจากที่สูง
5.การหมุนจานของนักแสดงตลก
6.การหมุนของลูกดิ่งหรือโยโย้

...ขอบคุณครับ...